วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการหญ้าแฝก


โครงการหญ้าแฝก

ความเป็นมา

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก จึงได้มีการพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก

 

ลักษณะของหญ้าแฝก

      หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่

   1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
   2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น


 

ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก 

(สาเหตุที่ถูกเลือกให้นำมาใช้แก้ปัญหาดินที่เสื่อมโทรม)

1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
2. มีการแตกหน่อและใบใหม่เอง ทำให้ไม่ต้องดูแลมาก
3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 
5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย 
6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 
7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 
8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 
9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ  



การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม


1. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน


2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ = นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ให้ปลูกระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร
3. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้ ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล 2.5 เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป 

4. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ = การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝก หรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ในช่วงต้นฤดูฝน

5.  การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม = ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องหญ้าแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้


6. การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ

 

ประโยชน์ของหญ้าแฝก

1. ช่วยฟื้นฟูดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้มีสภาพดีขึ้นและสามารถใช้ใน การเพาะปลูกได้
2. ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำและดักตะกอนดิน
3. ช่วยป้องกันการพังทลายและการเลื่อนไหลของดิน
4. ช่วยแก้ปัญหาการเกิดร่องน้้ำลึกจากการพังทลายของหน้าดิน
5. ช่วยกรองสารพิษที่ได้รับจากแหล่งน้ำต่างๆ



อ้างอิง

- http://siweb.dss.go.th/sci60/team100/royalpro/grass.htm
- http://www.ldd.go.th/link_vetiver/index.htm


งานบูรณาการแคมปัสพระราม 2

งานบูรณาการแคมปัสพระราม 2

1. คลิปนี้เป็นคลิปเกี่ยวกับการนำเสนองานคู่ บูรณาการวิชาภาษาอังกฤษกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมได้ไปทำที่แคมปัสพระราม 2 หัวข้อของงานนี้ คือเรื่อง ครัวไทยสู่อาเซียน โดยงานนี้เป็นงานเกี่ยวกับการนำเสนออาหารของประเทศต่างๆในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งอาหารที่ผมเลือกมานำเสนอก็คือ อาหารมาเลเซีย ชื่อว่า นาซิเลอมัก




2. คลิปนี้เป็นคลิปเกี่ยวกับการนำเสนองานกลุ่ม บูรณาการวิชาภาษาไทยกับการงานอาชีพ ซึ่งผมได้ไปทำที่แคมปัสพระราม 2 โดยงานครั้งนี้เกี่ยวกับการหาวิธีโฆษณาให้น้ำพริกกะปิซึ่งเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในมื้ออาหารของคนไทยให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังสโลแกนที่ว่า "ครัวไทยสู่อาเซียน"



3. คลิปนี้เป็นคลิปเกี่ยวกับการนำเสนองานบูรณาการวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมได้ไปทำที่แคมปัสพระราม    2  โดยงานครั้งนี้เป็นการทำรายงานเกี่ยวกับ Flowchart และการออกแบบ Logo ของการส่งออกน้ำพริกปลาทูไปทั่วประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน